กรณีผู้ต้องหาเข้าหาพนักงานสอบสวน
เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียก หรือส่งตัวมา
หรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง
หรือปรากฏว่าผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง
ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) กรณีมีหลักฐานตามสมควรว่าผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิดตามข้อหานั้น ให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิด แล้วบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาไว้ในบันทึกคำให้การของผู้ต้องหา (แบบ ส ๕๖ – ๕) และต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหาและแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้
(๒) กรณีไม่มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิดตามข้อหานั้น ให้พนักงานสอบสวนระบุการกระทำตามที่ผู้กล่าวหาได้กล่าวหาเท่านั้น โดยไม่ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิดและฐานความผิดให้ผู้ต้องหาทราบแต่อย่างใด
(๑) กรณีมีหลักฐานตามสมควรว่าผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิดตามข้อหานั้น ให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิด แล้วบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาไว้ในบันทึกคำให้การของผู้ต้องหา (แบบ ส ๕๖ – ๕) และต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหาและแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้
(๒) กรณีไม่มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิดตามข้อหานั้น ให้พนักงานสอบสวนระบุการกระทำตามที่ผู้กล่าวหาได้กล่าวหาเท่านั้น โดยไม่ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิดและฐานความผิดให้ผู้ต้องหาทราบแต่อย่างใด
แต่ถ้ามีหลักฐานเพิ่มเติมในภายหลังว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดตามข้อหานั้น
พนักงานสอบสวนจึงจะแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่า
ผู้ต้องหาได้กระทำความผิดและฐานความผิดให้ผู้ต้องหาทราบเพิ่มเติม
รวมทั้งต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหาและแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้
กรณีแจ้งข้อหาผู้ต้องหาแล้ว
เมื่อมีการแจ้งข้อหาแล้ว ถ้าผู้ต้องหาไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่มีการออกหมายจับ
ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) กรณีที่พนักงานสอบสวนเห็นว่า
มีเหตุที่จะออกหมายขังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๗๑
พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอให้ศาลออกหมายขังทันที
ถ้าขณะนั้นเป็นเวลาที่ศาลปิดทำการ หรือใกล้จะปิดทำการ พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลในโอกาสแรกที่เปิดทำการ ในการนี้ให้พนักงานสอบสวนลงรายงานบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีเพื่อเป็นหลักฐานโดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับการแจ้งข้อหา และมีข้อความต่อท้ายดังนี้ "เนื่องจากขณะนี้เป็นเวลาที่ศาลปิดทำการหรือใกล้จะปิดทำการ พนักงานสอบสวนไม่สามารถนำตัวผู้ต้องหาไปขอให้ศาลออกหมายขังได้ทัน จึงนัดหมายให้ นาย/นาง/นางสาว ...... ผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ .... /คดีจราจรที่ ..... ไปศาล ...... เพื่อขอให้ศาลออกหมายขัง นาย/นาง/นางสาว ....... ในวันที่ ....... เวลา .... น. นาย/นาง/นางสาว ...... ได้รับทราบคำสั่งของพนักงานสอบสวนแล้วยืนยันว่าจะไปศาลตามที่พนักงานสอบสวนสั่ง จึงให้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน” จากนั้นให้ผู้ต้องหาลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐาน
หากผู้ต้องหาไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจขังผู้ต้องหานั้นได้ โดยให้ถือเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะจับผู้ต้องหาโดยไม่มีหมายจับ และมีอำนาจปล่อยชั่วคราวหรือควบคุมตัวผู้ต้องหานั้น (อาจตีความได้ ๒ กรณี คือ กรณีแรก ศาลปิดทำการแล้วแต่ผู้ต้องหาแสดงเจตนาไม่ยอมปฏิบัติตามตั้งแต่แรกโดยยืนยันว่าจะไม่ไปศาลตามกำหนดนัดและไม่ยอมลงลายมือชื่อในรายงานบันทึกประจำวัน พงส.จึงจะจับผู้ต้องหาได้ ส่วนกรณีที่สอง ศาลเปิดทำการในภายหลังแต่ผู้ต้องหาไม่มาตามนัด พงส.จึงติดตามจับตัวมาดำเนินคดีได้)
หากกรณีไม่ใช่เวลาศาลปิดหรือใกล้จะปิดทำการ เมื่อพนักงานสอบสวนให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอให้ศาลออกหมายขัง หากผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติตามให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจับผู้ต้องหาดำเนินคดีตามข้อหาที่ได้แจ้งข้อหานั้น โดยถือว่า เป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะจับผู้ต้องหาโดยไม่มีหมายจับ และมีอำนาจปล่อยชั่วคราวได้
(๒) กรณีที่พนักงานสอบสวนเห็นว่า ไม่มีเหตุที่จะออกหมายขังผู้นั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๗๑ หลังจากแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบแล้ว พนักงานสอบสวนจะจับกุมและควบคุมผู้ต้องหาไม่ได้
การบันทึกเกี่ยวกับการแจ้งข้อหาในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี บันทึกพนักงานสอบสวน หรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนให้พนักงานสอบสวนบันทึกให้ปรากฏข้อความว่า
"แจ้งข้อหาหรือฐานความผิดให้ผู้ต้องหาทราบแล้ว จะได้สอบสวนต่อไป ไม่มีการจับกุมและควบคุมผู้ต้องหาแต่อย่างใด"
ห้ามมิให้บันทึกว่า “แจ้งข้อหาหรือฐานความผิดให้ผู้ต้องหาทราบแล้วปล่อยตัวไป” เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่ามีการจับกุมและควบคุมผู้ต้องหา
ในกรณีนี้ พนักงานสอบสวนไม่ต้องแจ้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๗/๑ เพราะผู้ต้องหาที่ถูกแจ้งข้อหาในกรณีนี้ ไม่ใช่ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขัง และไม่ต้องทำบันทึกควบคุมผู้ต้องหาประกอบสำนวนแต่อย่างใด
ถ้าขณะนั้นเป็นเวลาที่ศาลปิดทำการ หรือใกล้จะปิดทำการ พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลในโอกาสแรกที่เปิดทำการ ในการนี้ให้พนักงานสอบสวนลงรายงานบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีเพื่อเป็นหลักฐานโดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับการแจ้งข้อหา และมีข้อความต่อท้ายดังนี้ "เนื่องจากขณะนี้เป็นเวลาที่ศาลปิดทำการหรือใกล้จะปิดทำการ พนักงานสอบสวนไม่สามารถนำตัวผู้ต้องหาไปขอให้ศาลออกหมายขังได้ทัน จึงนัดหมายให้ นาย/นาง/นางสาว ...... ผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ .... /คดีจราจรที่ ..... ไปศาล ...... เพื่อขอให้ศาลออกหมายขัง นาย/นาง/นางสาว ....... ในวันที่ ....... เวลา .... น. นาย/นาง/นางสาว ...... ได้รับทราบคำสั่งของพนักงานสอบสวนแล้วยืนยันว่าจะไปศาลตามที่พนักงานสอบสวนสั่ง จึงให้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน” จากนั้นให้ผู้ต้องหาลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐาน
หากผู้ต้องหาไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจขังผู้ต้องหานั้นได้ โดยให้ถือเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะจับผู้ต้องหาโดยไม่มีหมายจับ และมีอำนาจปล่อยชั่วคราวหรือควบคุมตัวผู้ต้องหานั้น (อาจตีความได้ ๒ กรณี คือ กรณีแรก ศาลปิดทำการแล้วแต่ผู้ต้องหาแสดงเจตนาไม่ยอมปฏิบัติตามตั้งแต่แรกโดยยืนยันว่าจะไม่ไปศาลตามกำหนดนัดและไม่ยอมลงลายมือชื่อในรายงานบันทึกประจำวัน พงส.จึงจะจับผู้ต้องหาได้ ส่วนกรณีที่สอง ศาลเปิดทำการในภายหลังแต่ผู้ต้องหาไม่มาตามนัด พงส.จึงติดตามจับตัวมาดำเนินคดีได้)
หากกรณีไม่ใช่เวลาศาลปิดหรือใกล้จะปิดทำการ เมื่อพนักงานสอบสวนให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอให้ศาลออกหมายขัง หากผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติตามให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจับผู้ต้องหาดำเนินคดีตามข้อหาที่ได้แจ้งข้อหานั้น โดยถือว่า เป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะจับผู้ต้องหาโดยไม่มีหมายจับ และมีอำนาจปล่อยชั่วคราวได้
(๒) กรณีที่พนักงานสอบสวนเห็นว่า ไม่มีเหตุที่จะออกหมายขังผู้นั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๗๑ หลังจากแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบแล้ว พนักงานสอบสวนจะจับกุมและควบคุมผู้ต้องหาไม่ได้
การบันทึกเกี่ยวกับการแจ้งข้อหาในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี บันทึกพนักงานสอบสวน หรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนให้พนักงานสอบสวนบันทึกให้ปรากฏข้อความว่า
"แจ้งข้อหาหรือฐานความผิดให้ผู้ต้องหาทราบแล้ว จะได้สอบสวนต่อไป ไม่มีการจับกุมและควบคุมผู้ต้องหาแต่อย่างใด"
ห้ามมิให้บันทึกว่า “แจ้งข้อหาหรือฐานความผิดให้ผู้ต้องหาทราบแล้วปล่อยตัวไป” เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่ามีการจับกุมและควบคุมผู้ต้องหา
ในกรณีนี้ พนักงานสอบสวนไม่ต้องแจ้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๗/๑ เพราะผู้ต้องหาที่ถูกแจ้งข้อหาในกรณีนี้ ไม่ใช่ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขัง และไม่ต้องทำบันทึกควบคุมผู้ต้องหาประกอบสำนวนแต่อย่างใด