วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

คำสั่ง ตร. ที่เกี่ยวกับการผัดฟ้อง ฝากขัง อายัดตัวผู้ต้องหา

การผัดฟ้อง ฝากขัง การอายัดตัวผู้ต้องหา
              -  หนังสือ ตร. ที่ ๐๐๑๑.๒๕/๓๘๒๘  ลง ๑๒ ต.ค. ๒๕๕๓ เรื่อง กำชับการปฏิบัติเกี่ยวกับการอายัดตัวผู้ต้องหา
              -  หนังสือ ตร. ที่ ๐๐๑๑.๒๓๓/๐๑๒๘๔  ลง ๒๕ มี.ค. ๒๕๕๓ เรื่อง กำชับการปฏิบัติเกี่ยวกับการอายัดตัวผู้ต้องหา
              -  หนังสือ ตร. ที่ ๐๐๐๔.๖/๙๖๑๐ ลง ๑๖ ก.ย.๒๕๔๖ เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการอายัดตัวผู้ต้องหา
              -  หนังสือ คด. ด่วน ที่ ๐๐๐๔.๖/๔๖๕๙ ลง ๙ ต.ค.๒๕๔๕ เรื่อง ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการออกหมายขังในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๕
              -  ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ลง ๗ ต.ค.๒๕๔๕ เรื่อง ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการออกหมายขังในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๕
              -  หนังสือ อส. ที่ อส(สฝปผ)๐๐๑๘/ว ๑๔๕ ลง ๓๐ ก.ย.๒๕๔๑ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการรับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวน
              -  หนังสือ คด. ที่ ๐๖๐๓.๓/๙๓๖๖ ลง ๘ พ.ย.๒๕๓๑ เรื่อง ให้กำชับการปฏิบัติของพนักงานสอบสวนและผู้เกี่ยวข้องรับผิดชอบ
              -  หนังสือ ตร. ที่ ๐๖๑๐/๑๕๑๙๖ ลง ๒๐ ธ.ค.๒๕๒๗ เรื่อง กำชับพนักงานสอบสวนให้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อเร่งรัดการพิจารณาคดี

การส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ

การดำเนินการเมื่อส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ
             -  หนังสือ ตร. ที่ ๐๐๑๑.๒๖/๓๙๒๑ ลง ๒๘ ก.ย.๒๕๕๕  เรื่อง กำชับการปฏิบัติหน้าที่การประสานงานและการส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการพิจารณา
             -  หนังสือ ตร. ที่ ๐๐๑๑.๒๖/๒๗๔๘  ลง ๑๒ ก.ค.๒๕๕๔  เรื่อง การสอบสวนเพิ่มเติมตามคำสั่งของอัยการสูงสุด
             -  หนังสือ ตร. ที่ ๐๐๓๑.๒๑๒/ว ๐๐๑๓ ลง ๒๐ ก.พ.๒๕๕๒  เรื่อง หารือแนวทางปฏิบัติในการส่งสำนวนคดีอาญาที่ผู้ต้องหาเข้าพบพนักงานสอบสวนเอง
             -  หนังสือ ตร. ที่ ๐๐๐๔.๖/ว ๑๓๕๒๒  ลง ๒๑ ธ.ค.๒๕๕๒  เรื่อง กำชับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน
             -  หนังสือ ตร. ที่ ๐๐๓๑.๒๒/๕๗๘๒  ลง ๔ ธ.ค.๒๕๕๐  เรื่อง แนวทางการปฏิบัติในเรื่องการทำความเห็นทางคดี ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๔๕
             -  หนังสือ ตร. ที่ ๐๐๓๑.๒๑๒/๑๑๒๙ ลง ๑๖ ก.พ. ๒๕๔๙  เรื่อง กำชับการปฏิบัติและพิจารณาข้อบกพร่องพนักงานสอบสวนและผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบสำนวนการสอบสวนที่ ตร. ได้สั่งการให้สอบสวนเพิ่มเติมตามคำสั่งอัยการสูงสุดแต่ไม่ดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว
             -  บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง หารือเกี่ยวกับอำนาจสอบสวนเพิ่มเติมของพนักงานสอบสวน เรื่องเสร็จที่ ๗๖๖/๒๕๔๖
             -  บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง อำนาจสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติมของพนักงานอัยการ เรื่องเสร็จที่ ๔๐๒/๒๕๔๖
             -  หนังสือ ตร. ที่ ๐๐๐๔.๖/๘๐๕๑ ลง ๑๑ ส.ค.๒๕๔๖  เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับอำนาจการสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติมของพนักงานอัยการ
             -  หนังสือ ตร. ที่  ๐๐๐๔.๖/๑๒๘๐๕  ลง ๒๐ มี.ค.๒๕๔๖ เรื่อง การพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของผู้ที่ขับขี่รถโดยประมาท
             -  หนังสือ ตร. ที่  ๐๐๐๔.๓๖/๕๘๙  ลง ๒๑ ม.ค.๒๕๔๖ เรื่อง กำชับการมีความเห็นสั่งคดีและการปรับบทกฎหมายของพนักงานสอบสวน
             -  หนังสือ ตร. ที่  ๐๐๐๔.๖/๔๗๗๘ ลง ๑๗ เม.ย.๒๕๔๕ เรื่อง ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการทำความเห็นทางคดีและถอนเลขคดี
             -  หนังสือ ตร. ที่ ๐๕๐๓.๓๑/๗๔๗ ลง ๒๘ ม.ค.๒๕๔๐ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการสอบสวนคดีอาญา
             -  หนังสือ ตร. ที่ ๐๖๐๓.๒/๒๗๙๘ ลง ๑๗ เม.ย.๒๕๓๒  เรื่อง การประสานงานและส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการพิจารณา
             -  หนังสือ ตร. ที่ ๐๕๐๓(ส)/๑๕๖๘๕ ลง ๘ ก.ค.๒๕๒๔ เรื่อง ให้กำชับการปฏิบัติของพนักงานสอบสวนและผู้ที่เกี่ยวข้อง

คำสั่ง ตร. ที่เกี่ยวกับพยานในคดีอาญา

คำสั่ง ตร. เกี่ยวกับพยานในคดีอาญา
              -  หนังสือ ตร. ที่ ๐๐๐๔.๖/๗๒๑๐ ลง ๓๐ ส.ค.๒๕๕๓ เรื่อง ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๓
              -  หนังสือ ตร. ที่ ๐๐๓๑.๒๑๒/๐๐๑๖ ลง ๓ ต.ค.๒๕๕๒ เรื่อง กำหนดแนวทางปฏิบัติในการคุ้มครองพยานในคดีอาญา
              -  หนังสือ ตร. ที่ ๐๐๓๑.๒๑๒/๐๐๒๔๔ ลง ๑๒ ม.ค.๒๕๕๒ เรื่อง การแจ้งพนักงานอัยการเข้าร่วมคุ้มครองเด็กในคดีอาญา
              -  หนังสือ ตร. ด่วนที่สุด ที่ ๐๐๓๑.๒๑๒/ว ๑๑๔ ลง ๓๑ ส.ค.๒๕๕๐ เรื่อง กำชับการจัดตั้งงานส่งหมายและติดตามพยานในคดีอาญา การเป็นพยานศาล การส่งหมายเรียกพยาน การควบคุมพยาน การติดตามพยาน และการรายงานผลการดำเนินการตามหมายศาล
              -  หนังสือ ตร. ที่ ๐๐๐๔.๖/๕๖๑๙ ลง ๑๖ ก.ค.๒๕๔๗ เรื่อง การจัดตั้งงานส่งหมายและติดตามพยานในคดีอาญา
              -  หนังสือ ตร. ด่วนที่สุด ที่ ๐๐๐๔.๖/๑๘๗๙ ลง ๑๑ ก.พ.๒๕๔๕ เรื่อง ให้กำชับการปฏิบัติกรณีพยานศาลของพนักงานสอบสวนและผู้เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

การสอบสวนคดีที่ผู้ต้องหาอายัด

การสอบสวนคดีที่ผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่ในคดีอื่น (ผู้ต้องหาอายัด)
              ในกรณีผู้ต้องหากระทำความผิดหลายคดีในท้องที่เดียวกัน หรือหลายท้องที่ และผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่ในคดีใดคดีหนึ่ง  ให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้

เมื่อมีการกระทำผิดในท้องที่อื่นอีก
              กรณีที่ ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่า ได้กระทำความผิดในคดีอื่น ๆ อีก และต่างท้องที่
               =>  ให้ พงส. ที่ผู้ต้องหาถูกจับครั้งแรก รีบแจ้งให้ พงส.ในคดีอื่น ๆ ทำการอายัดผู้ต้องหาโดยด่วน ทั้งนี้ โดยให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด

รีบอายัดตัว ออกหมายจับ และแจ้งข้อหา
              กรณี พงส. จำเป็นต้องได้ตัวผู้ต้องหาซึ่งถูกคุมขังในคดีอื่น ไว้เพื่อสอบสวนดำเนินคดีอีกคดีหนึ่ง
               =>  ให้รีบ มีหนังสือแจ้งไปยังสถานที่คุมขังผู้ต้องหา เช่น เรือนจำ สถานีตำรวจ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่คุมขังผู้ต้องหาว่า ผู้ต้องหาดังกล่าวเป็นบุคคลที่ พงส. ต้องการได้ตัวไว้เพื่อสอบสวนดำเนินคดี ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับสถานที่คุมขัง อันจะเป็นประโยชน์ในการคุมขังผู้ต้องหา การพิจารณาปล่อยชั่วคราว หรือคัดค้านการปล่อยชั่วคราว
               =>  ให้ พงส. ที่ต้องการได้ตัวผู้ต้องหาซึ่งถูกคุมขังในคดีอื่น รีบดำเนินการขอให้ศาลออกหมายจับ หลังจากศาลออกหมายจับแล้ว ให้รีบมีหนังสือขออายัดตัวผู้ต้องหา พร้อมกับส่งสำเนาหมายจับไปยังสถานที่คุมขังผู้ต้องหาโดยเร็ว
               =>  ให้ พงส. รีบสอบสวนดำเนินคดีกับผู้ต้องหาซึ่งถูกคุมขังในคดีอื่นให้แล้วเสร็จ โดยไม่ต้องรอให้พ้นโทษในคดีเดิมก่อน และส่งสำนวนให้พนักงานอัยการโดยเร็ว

กรณีคดีถึงที่สุด หรือยังไม่ถึงที่สุดแต่ใกล้ขาดอายุความ
               กรณีส่งสำนวนคดีที่ผู้ต้องหาบางคนถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลอื่น ให้ปฏิบัติดังนี้
                =>  ให้ พงส. แยกสำนวน ทำความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด ส่งไปยังพนักงานอัยการประจำศาลที่มีเขตอำนาจเหนือเรือนจำที่ผู้ถูกจำคุกต้องโทษอยู่ แม้ว่า จะอยู่คนละเขตท้องที่หรือคนละจังหวัดก็ตาม
                กรณีผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังในคดีอื่นซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุด ให้ปฏิบัติดังนี้
                      (1)  กรณีคดีใกล้ขาดอายุความ
                            =>  ให้ หน.พงส. ประสานกับ พนักงานอัยการ เพื่อขอต่อศาล ให้โอนตัวผู้ต้องหาไปยังศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดี
                      (2)  ในคดีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่คดีใกล้ขาดอายุความ
                            =>  ให้ พงส. รีบสอบสวนและสรุปสำนวนการสอบสวนเสนอผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจทำความเห็นทางคดีเพื่อพิจารณาและมีความเห็นทางคดี
                             -  ในกรณีเสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง ให้เก็บสำนวนไว้ที่ทำการของ พงส. โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของ หน.พงส.
                             -  เมื่อมีการแต่งตั้งโยกย้ายให้ หน.พงส. ติดตามผลคดี เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ขอคัดสำเนาคำพิพากษาถึงที่สุดประกอบสำนวน แล้วส่งสำนวนให้พนักงานอัยการต่อไป
                             -  ถ้าต่อมา ศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด แต่คดีใกล้จะขาดอายุความ ให้ หน.พงส. รีบดำเนินการตาม (1) ต่อไป

ติดตามคดีและถอนอายัดตัวผู้ต้องหา 
                 ในระหว่างที่ผู้ต้องหาอายัด ถูกคุมขังอยู่ เมื่อ พงส. เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องขังผู้ต้องหาอายัดไว้ระหว่างการสอบสวนในคดีที่ขออายัด เช่น ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายหรือคดีเลิกกันแล้ว ให้ พงส. รีบมีหนังสือขอถอนการอายัดตัวผู้ต้องหาดังกล่าวไปยังสถานที่ที่ขออายัดไว้โดยด่วนที่สุด
                  กรณีที่การสอบสวนเสร็จสิ้นและมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาอายัด หลังจาก พงส. ส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการแล้ว ให้ พงส. หมั่นติดตามผลการสั่งคดีของพนักงานอัยการ  จนกระทั่ง พนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องและยื่นฟ้องผู้ต้องหาที่ถูกอายัด และเรือนจำก็ได้รับหมายนัดพิจารณาของศาลนั้นแล้ว หรือกรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหาอายัดแล้วก็ตาม ให้ พงส. รีบมีหนังสือขอถอนการอายัดตัวผู้ต้องหาดังกล่าว ไปยังสถานที่ที่ขออายัดผู้ต้องหาไว้โดยด่วนที่สุด  
                  ให้หน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวนทุกแห่งจัดทำสมุดคุมคดีที่มีการอายัดตัวผู้ต้องหา  (แบบ ส ๕๖ - ๘๓) ไว้ประจำที่หน่วยงาน เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาตรวจสอบได้โดยสะดวกตลอดเวลา และให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึง ผบก. หรือ ผบช. แล้วแต่กรณี ตรวจสอบผลการปฏิบัติของพนักงานสอบสวนทุกระยะ
(อ้างอิง - คำสั่ง ตร.ที่ 419/2556 ข้อ 4 การสอบสวนกรณีพิเศษ ข้อ 4.4)