พนักงานสอบสวนหรือผู้บังคับบัญชาผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการชี้ตัวพึงระลึกเสมอว่า การชี้ตัวผู้ต้องหาเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยปราศจากอคติและการบังคับ จึงห้ามจัดให้มีการชี้ตัวโดยผู้ชี้ตัวไม่เต็มใจ หรือไม่สมัครใจ โดยเด็ดขาด
ในการจัดให้มีการชี้ตัวผู้ต้องหา ให้กระทำแต่เฉพาะวิธีชี้ตัวผู้ต้องหาโดยมิให้ผู้ต้องหาเห็นตัวผู้ชี้ตัว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้กล่าวหาและพยานผู้ชี้ตัวผู้ต้องหา
กรณีที่พนักงานสอบสวนมีความจำเป็นจะต้องจัดให้ผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ชี้ตัวบุคคลใด ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการชี้ตัวบุคคล ในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และสามารถป้องกันมิให้บุคคลซึ่งจะชี้ตัวเห็นตัวเด็ก โดยให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ พนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยในการชี้ตัวบุคคลนั้น เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่อาจหาหรือรอบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ และเด็กไม่ประสงค์จะให้มี หรือรอ บุคคลดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ ให้พนักงานสอบสวนบันทึกเหตุดังกล่าวไว้ในบันทึกพนักงานสอบสวนด้วย
ในกรณีการชี้ตัวผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการชี้ตัวในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และสามารถป้องกันมิให้ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กนั้น เห็นตัวบุคคลที่จะทำการชี้ตัว (ข้อ ๖.๑๑)
✩คำสั่งเกี่ยวกับงานสอบสวนของ ตร. และ คำสั่ง ตร.ที่ ๔๑๙/๒๕๕๖ ลงวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ✩ความถูกต้องเป็นไปตามวันที่เขียนบทความและอัพเดท✩
วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558
วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558
การสอบสวนชันสูตรพลิกศพ
ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้น
(๑) โดยการกระทำของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่(๒) ในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่
(๓) ผู้ตายถูกกล่าวหาว่า ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่
- ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ (รอง ผบก. ที่ได้รับมอบหมาย) แจ้งให้พนักงานอัยการ เข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนในการทำสำนวนชันสูตรพลิกศพ และสำนวนการสอบสวนด้วย
- การแจ้งอาจทำเป็นลายลักษณ์อักษร หรือวาจาก็ได้ ในกรณีที่แจ้งด้วยวาจา ให้พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ในบันทึกพนักงานสอบสวนด้วย
- ให้พนักงานสอบสวนเป็นผู้รับผิดชอบทำสำนวนการสอบสวน โดยพนักงานอัยการอาจให้คำแนะนำ ตรวจสอบพยานหลักฐาน ถามปากคำ หรือสั่งให้ถามปากคำบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ ตั้งแต่เริ่มการทำสำนวน นับแต่โอกาสแรกเท่าที่จะพึงกระทำได้
- กรณีจำเป็นเร่งด่วน และมีเหตุอันควร ไม่อาจรอพนักงานอัยการเข้าร่วมในการทำสำนวนสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนทำสำนวนต่อไป แต่ต้องบันทึกเหตุที่ไม่อาจรอพนักงานอัยการ ไว้ในบันทึกพนักงานสอบสวนด้วย
- ในการสอบสวน หากพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการมีความเห็นไม่ตรงกัน พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ อาจทำความเห็นของตนรวมไว้ในสำนวนสอบสวนด้วยก็ได้
สำนวนการสอบสวน
สามารถจำแนกตามสารบบออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ(๑) สำนวนคดีอาญาทั่วไป
(๒) สำนวนคดีจราจรทางบก
(๓) สำนวนชันสูตรพลิกศพ
ความหมาย
"สำนวนชันสูตรพลิกศพ" หมายถึง สำนวนการสอบสวนชันสูตรพลิกศพ ที่ได้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๐ ซึ่งไม่ใช่สำนวนคดี เพียงแต่ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้โดยอนุโลม
การทำสำนวนชันสูตรพลิกศพ (ข้อ ๓.๑๓)
การทำสำนวนชันสูตรพลิกศพให้พนักงานสอบสวนทำสำนวนเช่นเดียวกันกับการทำสำนวนการสอบสวนคดีอาญาทั่วไป โดยให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการสอบสวนมาใช้โดยอนุโลม และในสำนวนชันสูตรพลิกศพ ควรประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้ (๑) หนังสือส่งพนักงานอัยการ หรือ หนังสือส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพ จากหัวหน้าสถานีตำรวจที่รับผิดชอบการสอบสวนชันสูตรพลิกศพ ไปยังหัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบสอบสวนคดีอาญาหรือคดีจราจรทางบก (กรณีพนักงานสอบสวนผู้ชันสูตรพลิกศพเป็นพนักงานสอบสวนคนละท้องที่กับพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจทำการสอบสวนคดีอาญาหรือคดีจราจรทางบก)
(๒) รายงานการสอบสวนสำนวนชันสูตรพลิกศพ (แบบ ส ๕๖ - ๓/๓)
(๓) บันทึกคำให้การผู้กล่าวหา (ห้ามมิให้ใช้คำว่า "ผู้ร้อง")
(๔) บันทึกคำให้การพยาน เช่น สามีภริยา ญาติ ผู้ปกครอง ผู้รู้เรื่องการตาย แพทย์ผู้ชันสูตรพลิกศพ เป็นต้น
(๕) บันทึกพนักงานสอบสวน
(๖) รายงานการชันสูตรพลิกศพ
(๗) บันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
(๘) แผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุ
(๙) ภาพถ่าย
(๑๐) รายงานการตรวจสถานที่เกิดเหตุจากหน่วยงานวิทยาการ (ถ้ามี)
(๑๑) สำเนาทะเบียนบ้านและใบมรณะบัตร (ถ้ามี)
(๑๒) พิมพ์ลายนิ้วมือของศพ และผลการตรวจสอบประวัติ (ถ้ามี)
(๑๓) บัญชีสำนวนการสอบสวน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)