- พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗
- พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๕๘
- พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๔
- พระราชกฤษฎีกาข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศ พ.ศ.๒๕๕๘
- กฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบตำรวจ พ.ศ.๒๔๗๗
- กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ พ.ศ.๒๕๕๙
- กฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ (๒๕๔๙)
- ระเบียบ ก.ตร.ว่าด้วยการกำหนดลำดับอาวุโสของข้าราชการตำรวจในการรักษาราชการแทน พ.ศ.๒๕๕๗
- ระเบียบ ก.ตร.ว่าด้วยการกำหนดลำดับอาวุโสของข้าราชการตำรวจในการรักษาราชการแทน พ.ศ.๒๕๕๐
- รวมระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี
- ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๑๕ การรับส่งงานในหน้าที่ราชการ พ.ศ.๒๕๕๗
- ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๑๕ การรับส่งงานในหน้าที่ราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๙
- ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการจ่ายค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักแก่ล่าม และล่ามภาษามือที่พนักงานสอบสวนจัดหาให้ พ.ศ. ๒๕๕๙
- ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการตำรวจไปปฏิบัติราชการภายใน ตร. พ.ศ.๒๕๕๒
- ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นและองค์กรมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ.๒๕๕๑
- ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยกำหนดแนวปฏิบัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๘
- ข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การชำระค่าปรับ การชำระค่าปรับทางไปรษณีย์ และวิธีการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ บัตรเครดิต หรือวิธีการอื่น โดยผ่านธนาคารหรือหน่วยบริการรับชำระเงิน และกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๕๙
- ข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง สถานที่ในการชำระค่าปรับโดยวิธีการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ บัตรเครดิต หรือวิธีการอื่น ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๕๙
✩คำสั่งเกี่ยวกับงานสอบสวนของ ตร. และ คำสั่ง ตร.ที่ ๔๑๙/๒๕๕๖ ลงวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ✩ความถูกต้องเป็นไปตามวันที่เขียนบทความและอัพเดท✩
วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560
การให้ข่าว แถลงข่าว ให้สัมภาษณ์ เผยแพร่ภาพต่อสื่อมวลชน และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์
ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี
ลักษณะที่ 30
การปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ข่าว การแถลงข่าว การให้สัมภาษณ์ การเผยแพร่ภาพต่อสื่อมวลชน
และการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์
--------------
เพื่อให้การปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ข่าว การแถลงข่าว การให้สัมภาษณ์ การเผยแพร่ภาพต่อสื่อมวลชน การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้ผลการปฏิบัติงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้อย่างถูกต้องตรงกัน ธำรงไว้ซึ่งภาพลักษณ์ที่ดี ให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น เชื่อถือและศรัทธายินดีให้ความร่วมมือกับข้าราชการตำรวจและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และการอนุญาตให้ใช้สถานที่บุคลากร อุปกรณ์ หรือยานพาหนะในการถ่ายทำภาพยนตร์ ละครโฆษณา หรือบันทึกภาพนิ่ง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้ทุกหน่วยงานและข้าราชการตำรวจถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน ดังนี้ข้อ 1 การให้ข่าวแถลงข่าวและให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน
1.1 ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการให้ข่าวแถลงข่าวและให้สัมภาษณ์
1.1.1 ให้หัวหน้าหน่วยงานซึ่งมียศตั้งแต่พันตำรวจตรีขึ้นไป หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเฉพาะ หรือผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการให้ข่าวแถลงข่าว หรือให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนทุกแขนง เฉพาะงานในหน้าที่รับผิดชอบหรือที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
กรณีที่ปรากฏมีข่าวในทางเสื่อมเสียเกี่ยวกับหน่วยงานใด ให้หัวหน้าหน่วยงานตามวรรคหนึ่ง รายงานข้อเท็จจริงให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยด่วน และพิจารณาแถลงข่าวนั้น ซึ่งรวมถึงการให้สัมภาษณ์ หรือการไปร่วมรายการทางวิทยุหรือโทรทัศน์ หรือการให้ข้อมูลข่าวสารทางสื่ออื่น ๆ ด้วย
1.1.2 ข้าราชการตำรวจที่ดำรงตำแหน่งหรือยศต่ำกว่าข้าราชการตำรวจตาม 1.1.1 หากประสงค์จะเป็นผู้ให้ข่าวแถลงข่าว ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนทุกแขนง ให้ขออนุญาตเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้มีอำนาจตาม 1.1.1 หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคง การบังคับใช้กฏหมายหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายหรือความปลอดภัยของบุคคลให้เป็นอำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจตาม 1.1.1 เท่านั้น
1.1.3 กรณีที่ข้าราชการตำรวจตำแหน่งต่ำกว่าผู้บังคับการ ประสงค์จะให้สัมภาษณ์ เป็นพิธีกร ผู้ดำเนินรายการ หรือเข้าร่วมรายการต่าง ๆ ที่มีการนำเสนอผ่านสื่อมวลชนทุกแขนง เกี่ยวกับการให้ความรู้ ชี้แจงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็นหรือดำเนินการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน นอกเหนือจากการดำเนินการตาม 1.1.1 ให้ขออนุญาตต่อผู้บังคับการ
1.2 แนวทางปฎิบัติในการให้ข่าว แถลงข่าว ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนทุกแขนง
1.2.1 ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการให้ข่าว แถลงข่าว ให้สัมภาษณ์ ต้องปฏิบัติภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ควรระมัดระวังถ้อยคำหรือกริยาท่าทางอันจะเป็นการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น และควรใช้ถ้อยคำที่เป็นกลางเพื่อไม่ให้เป็นการประจาน ดูหมิ่นเหยียดหยามผู้อื่น
1.2.2 ห้ามให้ข่าว แถลงข่าว หรือสัมภาษณ์ที่เกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
1.2.2.1 เรื่องที่มีผลกระทบต่อการรักษาความปลอดภัยของประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
1.2.2.2 เรื่องหรือข้อความที่จะทำให้เกิดการเสียหายแก่ทางราชการ
1.2.2.3 เรื่องที่เกี่ยวกับคำสั่งให้ปฎิบัติหน้าที่อันเป็นระเบียบการภายใน และคำสั่งหรือระเบียบการใด ๆ ที่ถือเป็นความลับ
1.2.2.4 เรื่องที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือจะเกิดการเสียหายทั้งชื่อเสียงหรือผลประโยชน์แก่ผู้อื่น เช่น คดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดฐานทำให้แท้งลูก ความผิดฐานหมิ่นประมาท และเรื่องอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกัน
1.2.2.5 เรื่องที่อาจส่งผลกระทบหรือเสียหายต่อคดี โดยเฉพาะคดีที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น เช่น การเปิดเผยเกี่ยวกับเทคนิควิธีการปฏิบัติงานที่ควรปกปิดเป็นความลับ แนวทางการสืบสวนสอบสวนการจับกุม ตรวจค้นและการรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ในทุกขั้นตอนเป็นต้น
1.2.2.6 เหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ไม่เหมาะสม ซึ่งถ้าหากเปิดเผยต่อประชาชนอาจเป็นแบบอย่างที่บุคคลอื่นจะถือเอาเป็นตัวอย่างในการกระทำขึ้นอีก เช่น แผนประทุษกรรมต่าง ๆ ของคนร้าย หรือวิธีการที่แสดงถึงการฉ้อโกง การกระทำอัตวินิบาตกรรม และวิธีการอันชั่วร้ายอื่นๆ
1.2.3 การให้สัมภาษณ์โดยมีสื่อมวลชนทุกแขนงเป็นผู้ทำการสัมภาษณ์ในลักษณะเป็นคนกลาง ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงด้วยความสุภาพ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
1.2.4 ห้ามนำหรือจัดให้ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือพยาน มาให้ข่าว แถลงข่าว หรือให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนทุกแขนง ยกเว้นกรณีที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดีและสาธารณชน หรือได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือพยาน โดยให้ขออนุญาตเป็นหนังสือต่อผู้บัญชาการที่รับผิดชอบคดี
ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม ห้ามนำผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี บริบูรณ์ พระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช ผู้เสียหายที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ มาให้ข่าวแถลงข่าวหรือให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนทุกแขนงนี้เป็นอันขาด รวมตลอดถึงการชี้ตัวผู้ต้องหาในลักษณะที่เป็นการเผชิญหน้าต่อสื่อมวลชนทุกแขนง
1.2.5 เพื่อให้เกิดความชัดเจนเป็นประโยชน์ในการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนทุกแขนง และให้ประชาชนได้รับข่าวที่ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ควรจะเตรียมเอกสารที่มีรายละเอียดของข้อมูลที่เปิดเผยได้ประกอบการแถลงข่าว โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้เกี่ยวข้องในคดีและรูปคดี
1.2.6 เรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายของแต่ละหน่วยงาน ให้เป็นหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยงาน หรือโฆษก หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น จะเป็นผู้ให้ข่าวแถลงข่าวหรือให้สัมภาษณ์
1.2.7 กรณีที่เกิดเหตุการณ์รุนแรง หรือสถานการณ์วิกฤตที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติและภยันตรายของประชาชน ให้ถือปฏิบัติในการให้ข่าว การแถลงข่าว ให้สัมภาษณ์ หรือประชาสัมพันธ์ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น ๆ
ประมวลระเบียบการตำรวจฯ : คำร้องทุกข์ คำกล่าวโทษ
ประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี
ลักษณะ 13
การรายงานคดีอาญา
บทที่ 3
คำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษ
ข้อ 1 คำร้องทุกข์ หมายความถึง การที่ผู้เสียหายได้กล่าวต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่ามีผู้กระทำผิดขึ้นจะรู้ตัวผู้กระทำผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษข้อ 2 ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือหรือต่อตำรวจซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่รองหรือเหนือพนักงานสอบสวนและเป็นผู้ซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยตามกฏหมายก็ได้
ข้อ 3 คำร้องทุกข์นั้นต้องปรากฏชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องทุกข์ ลักษณะแห่งความผิด พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ความผิดนั้นได้กระทำลง ความเสียหายที่ได้รับ และชื่อหรือรูปพรรณของผู้กระทำผิด เท่าที่จะบอกได้
คำร้องทุกข์นี้จะทำเป็นหนังสือหรือร้องด้วยปากก็ได้ ถ้าเป็นหนังสือจะต้องมีวันเดือนปีและลายมือชื่อของผู้ร้องทุกข์ ถ้าร้องด้วยปากให้พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ ลงวันเดือนปี และลงลายมือชื่อผู้บันทึกกับผู้ร้องทุกข์ในบันทึกนั้น
ข้อ 4 เมื่อมีหนังสือร้องทุกข์ยื่นต่อตำรวจแล้ว ให้รีบจัดการส่งไปยังพนักงานสอบสวนและจะจดหมายเหตุอะไรไปบ้างเพื่อประโยชน์ของพนักงานสอบสวนก็ได้
เมื่อมีคำร้องทุกข์ด้วยปาก ให้รีบจัดการอำนวยความสะดวกให้ผู้เสียหายไปพบพนักงานสอบสวนและดำเนินการตามวรรคแรก
ในกรณีเร่งร้อน ตำรวจนั้นจะจดบันทึกเหตุการณ์ไว้หรือจากจดหมายเหตุอะไรไปบ้างเพื่อประโยชน์ของพนักงานสอบสวนก็ได้ แล้วให้รีบส่งไปยังพนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไปโดยไม่ชักช้า
ข้อ 5 เมื่อพนักงานสอบสวนหรือตำรวจได้กระทำการสืบสวนหรือสอบสวนไปทั้งหมดหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใดตามคำขอร้องให้ช่วยเหลือ ให้ตกเป็นหน้าที่ของพนักงานนั้นจัดการให้มีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ
ข้อ 6 ผู้ร้องทุกข์จะแก้คำร้องทุกข์ระยะใด หรือจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ ในคดีซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว (ความผิดอันยอมความได้) ถึงแม้จะมีการถอคำร้องทุกข์แล้ว ก็เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนต่อไป
ข้อ 7 คำกล่าวโทษ หมายความถึง การที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดีได้กระทำผิดขึ้น
ข้อ 8 เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับคำกล่าวโทษจะไม่บันทึกคำกล่าวโทษในกรณีต่อไปนี้ก็ได้
8.1 เมื่อผู้กล่าวโทษไม่ยอมแจ้งว่าเขาคือใคร
8.2 เมื่อคำกล่าวโทษเป็นบัตรสนเท่ห์
คำกล่าวโทษซึ่งบันทึกแล้วแต่ผู้กล่าวโทษไม่ยอมลงลายมือชื่อ เจ้าพนักงานผู้รับคำกล่าวโทษจะไม่จัดการแก่คำกล่าวโทษนั้นก็ได้
ให้นำความในข้อ 2 ถึง 6 มาบังคับโดยอนุโลมในเรื่องคำกล่าวโทษ
ข้อ 9 คำกล่าวโทษตามข้อ 8 พนักงานสอบสวนควรจะต้องสอบสวนว่า มีมูลความผิดเป็นอาญาแผ่นดินหรือไม่ ถ้าปรากฏเป็นความผิดอาญาแผ่นดินแล้ว เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องดำเนินการต่อไป
การขอถอนหมายเลขคดี
บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 02-2053466
ที่ 0004.6 / 4778 วันที่ 17 เมษายน 2545
เรื่อง ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการทำความเห็นทางคดีและการถอนเลขคดี
รอง ผบ.ตร. ผู้ช่วย ผบ.ตร. ผบช. ผบก. หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า
ตามประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะ 13 บทที่ 3 ข้อ 13 กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการขอถอนเลขคดีไว้ สรุปความได้ว่า กรณีที่พนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษ แล้วภายหลังการสอบสวนปรากฏว่า ไม่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบรายงานตามลำดับชั้นจนถึงกองบัญชาการหรือตำรวจภาค แล้วแต่กรณี เพื่อขอถอนหมายเลขคดีและสำเนาส่งศูนย์ข้อมูลข้อสนเทศปรับข้อมูลให้ถูกต้องโดยมิชักช้า แต่ปรากฏว่า เมื่อมีกรณีที่พนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษแล้ว ต่อมาภายหลังพบว่าไม่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น พนักงานสอบสวนบางนายกลับยุติการสอบสวนและขอถอนหมายเลขคดีโดยไม่สรุปความเห็นทางคดีส่งสำนวนให้พนักงานอัยการ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับการทำความเห็นทางคดีและการถอนหมายเลขคดี เป็นไปด้วยความถูกต้องเรียบร้อย จึงขอซักซ้อมแนวทางปฏิบัติดังนี้
1. เมื่อพนักงานสอบสวนได้รับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษไว้แล้ว จะต้องเริ่มทำการสอบสวนเพื่อความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 241 ป.วิ.อาญา มาตรา 130 และเมื่อสอบสวนเสร็จสิ้นแล้วให้สรุปสำนวนทำความเห็น งดการสอบสวน เห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง ส่งสำนวนให้พนักงานอัยการตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 140 , 141 หรือ 142 แล้วแต่กรณี
2. การขอถอนเลขคดีตามประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะ 13 บทที่ 3 ข้อ 13 เป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษลงในสมุดสารบบการดำเนินคดีอาญาทั่วไป หรือสมุดสารบบการดำเนินคดีจราจรทางบก (รับเลขคดีอาญาหรือจราจร) ประจำที่ทำการของพนักงานสอบสวนไว้แล้ว ภายหลังการสอบสวนปรากฏว่าไม่มีการกระทำความผิดคดีอาญาหรือคดีจราจรเกิดขึ้น ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดำเนินการขอถอนหมายเลขคดีอาญาหรือจราจรตามระเบียบที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปรับสถิติคดีอาญาหรือจราจรให้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ส่วนเลขคดีที่ปรากฏอยู่ในสมุดสารบบการดำเนินคดีอาญาทั่วไป หรือสมุดสารบบการดำเนินคดีจราจรทางบก ประจำที่ทำการของพนักงานสอบสวนยังมีอยู่ ไม่ได้ลบหรือหายไปจากสมุดสารบบแต่อย่างใด สำหรับสำนวนการสอบสวนพนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการสอบสวนให้เสร็จสิ้น แล้วสรุปสำนวนมีความเห็นส่งให้พนักงานอัยการตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 140 , 141 หรือ 142 แล้วแต่กรณี
จึงซักซ้อมความเข้าใจมาเพื่อทราบและแจ้งให้พนักงานสอบสวนในสังกัดทราบ เพื่อถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป หากเกิดความบกพร่องหรือเสียหายแก่ทางราชการขึ้น พนักงานสอบสวนและผู้เกี่ยวข้อง จะต้องรับผิดชอบทางวินัยตามควรแก่กรณี
พล.ต.อ.สันต์ศรุตานนท์
ผบ.ตร.
ส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 02-2053466
ที่ 0004.6 / 4778 วันที่ 17 เมษายน 2545
เรื่อง ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการทำความเห็นทางคดีและการถอนเลขคดี
รอง ผบ.ตร. ผู้ช่วย ผบ.ตร. ผบช. ผบก. หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า
ตามประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะ 13 บทที่ 3 ข้อ 13 กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการขอถอนเลขคดีไว้ สรุปความได้ว่า กรณีที่พนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษ แล้วภายหลังการสอบสวนปรากฏว่า ไม่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบรายงานตามลำดับชั้นจนถึงกองบัญชาการหรือตำรวจภาค แล้วแต่กรณี เพื่อขอถอนหมายเลขคดีและสำเนาส่งศูนย์ข้อมูลข้อสนเทศปรับข้อมูลให้ถูกต้องโดยมิชักช้า แต่ปรากฏว่า เมื่อมีกรณีที่พนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษแล้ว ต่อมาภายหลังพบว่าไม่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น พนักงานสอบสวนบางนายกลับยุติการสอบสวนและขอถอนหมายเลขคดีโดยไม่สรุปความเห็นทางคดีส่งสำนวนให้พนักงานอัยการ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับการทำความเห็นทางคดีและการถอนหมายเลขคดี เป็นไปด้วยความถูกต้องเรียบร้อย จึงขอซักซ้อมแนวทางปฏิบัติดังนี้
1. เมื่อพนักงานสอบสวนได้รับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษไว้แล้ว จะต้องเริ่มทำการสอบสวนเพื่อความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 241 ป.วิ.อาญา มาตรา 130 และเมื่อสอบสวนเสร็จสิ้นแล้วให้สรุปสำนวนทำความเห็น งดการสอบสวน เห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง ส่งสำนวนให้พนักงานอัยการตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 140 , 141 หรือ 142 แล้วแต่กรณี
2. การขอถอนเลขคดีตามประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะ 13 บทที่ 3 ข้อ 13 เป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษลงในสมุดสารบบการดำเนินคดีอาญาทั่วไป หรือสมุดสารบบการดำเนินคดีจราจรทางบก (รับเลขคดีอาญาหรือจราจร) ประจำที่ทำการของพนักงานสอบสวนไว้แล้ว ภายหลังการสอบสวนปรากฏว่าไม่มีการกระทำความผิดคดีอาญาหรือคดีจราจรเกิดขึ้น ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดำเนินการขอถอนหมายเลขคดีอาญาหรือจราจรตามระเบียบที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปรับสถิติคดีอาญาหรือจราจรให้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ส่วนเลขคดีที่ปรากฏอยู่ในสมุดสารบบการดำเนินคดีอาญาทั่วไป หรือสมุดสารบบการดำเนินคดีจราจรทางบก ประจำที่ทำการของพนักงานสอบสวนยังมีอยู่ ไม่ได้ลบหรือหายไปจากสมุดสารบบแต่อย่างใด สำหรับสำนวนการสอบสวนพนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการสอบสวนให้เสร็จสิ้น แล้วสรุปสำนวนมีความเห็นส่งให้พนักงานอัยการตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 140 , 141 หรือ 142 แล้วแต่กรณี
จึงซักซ้อมความเข้าใจมาเพื่อทราบและแจ้งให้พนักงานสอบสวนในสังกัดทราบ เพื่อถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป หากเกิดความบกพร่องหรือเสียหายแก่ทางราชการขึ้น พนักงานสอบสวนและผู้เกี่ยวข้อง จะต้องรับผิดชอบทางวินัยตามควรแก่กรณี
พล.ต.อ.สันต์ศรุตานนท์
ผบ.ตร.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)